ความหมายของภาษาวิบัติ

ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ตรงกับกับหลักภาษาในด้านการสะกดคำ คำว่า ‘ภาษาวิบัติ’ ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย รวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากเดิม คำว่า “วิบัติ” มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย

ในประเทศไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้ เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง

ทั้งนี้ การเปิดใช้พจนานุกรมเพื่อค้นหาคำที่ควรใช้ให้ถูกต้องอาจเป็นทางเลือกที่ดี ทางบัณฑิตยสถานได้กำหนดคำที่ใช้อย่างเป็นทางการหรืออยู่ในรูปแบบมาตรฐาน หากใช้ผิดอาจกลายเป็นคำวิบัติได้ ซึ่งคำวิบัติไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของภาษาแต่อย่างใด เป็นเพียงการใช้ภาษาให้แตกต่างจากปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจใช้จากรุ่นสู่รุ่นไปจนกว่าคำวิบัตินั้นจะหายไป

นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนว่า ภาษาวิบัติเป็นการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่ผู้ใหญ่ในสังคมไม่ชอบ แม้ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้ภาษาเปลี่ยนการให้เหตุผลว่าภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นภาษาของชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ นิธิเห็นว่าเป็นเหตุผลแบบไสยศาสตร์ ไม่ค่อยน่าฟัง นิธิยังเห็นว่า ปัญหาของภาษาไทยในปัจจุบันคือ การใช้ภาษาไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ไวยากรณ์ การใช้ศัพท์หรือการเรียบเรียง เป็นต้น และการไม่ศึกษาภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เองที่จะเป็นเหตุให้เกิด “ภาษาวิบัติ”

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ช่วงที่มีผู้สร้างภาพยนตร์ไปตั้งเป็นชื่อ หอแต๋วแตกแหวกชิมิ กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย ระบุ คำว่า “ชิมิ” หากเป็นการใช้ภายในกลุ่มก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเป็นการล้อกันเล่นซึ่งเป็นปกติของภาษา และจะเลือนหายไปตามกาลเวลา แต่การนำไม่ใช้เชิงสาธารณะดังที่ไปตั้งเป็นชื่อภาพยนตร์ ถือว่าไม่เหมาะสมนักเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 กนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า สถานการณ์ภาษาไทยในปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นวิกฤต และวัยรุ่นใช้ภาษาแช็ตเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต และสื่อสารภายในวัยรุ่นเท่านั้น ยังไม่พบนำมาใช้ในการเขียนหรือการทำงานแต่อย่างใด

 

ภาษาวิบัติ

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

  ภาษาวิบัติ  คือ คำพูดที่ไม่ได้รับการยินยอมให้ใช้ทั่วไปในระดับสากล หากแต่ใช้พูดกันเองในกลุ่มเพื่อนฝูงหรือในกลุ่มวัยรุ่น โดยมักจะได้รับการต่อต้านจากผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมอยู่เสมอ 
คำนิยาม
ภาษาวิบัติ  คือ ภาษาที่ถูกแปลงมาจากคำในภาษาเดิม ให้สามารถเขียนได้ในรูปลักษณ์ใหม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ภาษาวิบัตินี้มักจะผิดหลักในการเขียนอยู่เสมอ
ถ้าจะให้แยกแยะได้ง่ายๆ คำที่ไม่อยู่ในพจนานุกรม และไม่เป็นไปตามกฏของหลักภาษาไทยโดยส่วนใหญ่จะเป็นภาษาวิบัติ

    ต่อ ไปนี้ที่นำเสนอ อ่านแบบขำๆ กันไป อย่าไปเครียดมากมายกับกระทู้นี้ อ่านเพื่อให้เรารู้ หรือใครจะนำไปปรับปรุง แก้ไขตัวเองในส่วนไหน ก็ตามแต่ ไม่มีใครว่าอะไรหรอกค่ะ ช่วยๆ กัน ให้สังคมเราน่าอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยนะจ้ะ

  ผู้ทำภาษาวิบัติ
    บริษัททุย                         ทุจศิล กินชะมัด     ผู้ใช้เว็บบอร์ดบางคน           ผู้ใช้แชทบางคน     ผู้ใช้ฮิห้าหลายคน              กลุ่มแฟนคลับเอ๊ดจวยและดงบางชินเกรียน     รายการ ไอ้ตุ๋ย ไฮเถิก ทางช่องเนชั่วแชนแนล ในช่วงของรายการที่เป็นการตอบปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์มีชื่อเป็นภาษาวิบัติ ว่า ช่วง คอมนู๋ไม่รู้เป็นไร (วิบัติมาจาก คอมหนูไม่รู้เป็นอะไร) และให้ข้อมูลที่ผิดพลาด เช่นเรื่อง วินเด้าส์ วิสด้า SP1 ที่บอกว่าไม่มีภาษาไทยรองรับ แต่ที่จริงมีมาก่อนหน้านี้แล้ว อื่นๆ ข้อมูลปกปิด

***  เนื้อหาด้านล่างนี้ได้รับการยอมรับเรื่องการใช้ ภาษาวิบัติ ท่านอาจจะงงบ้าง แต่เราก็ขออวยพรให้ท่านอ่านรู้เรื่อง

ภาษาวิบัติแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มที่ใช้เวลาพูด กับกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน
กลุ่มที่ใช้เวลาพูด –  เป็น ประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น
   ตะเอง (ตัวเอง)  เตง (ตัวเอง)  ขอบคุง (ขอบคุณ)  แม่ม (แม่มึง)  แสด(สัตว์) พ่อง (พ่อเมิง)     สลัด, แสด, สาด (สัตว์)  สรัด,สรัส(สัตว์ :ออกเสียง ร เรือ ด้วย) 
กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน  – รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย
กลุ่มพ้องเสียง  – รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม
   เทอ(เธอ)  จัย(ใจ)  งัย(ไง)  นู๋(หนู)  มู๋(หมู)  ปันยา(ปัญญา)  กำ(กรรม)
กลุ่มขี้เกียจพิมพ์  – พวก นี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift มันน่ารำคาญ พวกนี้เลยขี้เกียจกด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน
   กุ(กู)  เหน(เห็น)  เปน(เป็น)
ซึ่งสองตัวอย่างหลังนี่ ถ้าเคยเปิดอ่านหนังสือเก่าๆ ดู จะพบว่าไปซ้ำกับอักขรวิธีในสมัยก่อน (ประมาณปี พ.ศ. 2480)
กลุ่มโชว์Inw
   Inw!  Inw(เทพ)  uou(นอน )  เกรีeu(เกรียน)  IInJIISJIISJ (แทงแรงแรง)      IIOUIInJISO (แอบแทงเธอ)
แบบลูกผู้ดีกระแดะ  – จะมี ร์ กำกับไว้ข้างท้ายเสมอ เช่น
   เทอร์ = เธอ  แกร์ = แก  วิคิพีเดียร์ = วิกิพีเดีย  เ***้ยร์, เชี่ยร์ = เ***้ย(คำว่า เชี่ย มีรากศัพท์มาจาก เ***้ย)    คับร์ = คับ(ครับ)  โปรแกรมร์ = โปรแกรม
 

คำวิพากษ์วิจารณ์

  • ภาษาวิบัติไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไป บางครั้งมันก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะภาษาไม่ตาย ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
  • จะ บ้าเรอะ! ภาษาวิบัติมันก็บอกอยู่แล้วว่า “วิบัติ” ไม่ใช่ “วิวัฒนาการ” วิวัฒนาการมันคือการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่า ส่วนวิบัติคือการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่
  • ถ้าเปรียบภาษาเหมือนรูปภาพ การวิวัฒนาการคือการที่ศิลปินชื่อดังผู้รัก และเข้าใจการวาดภาพมาเขียนภาพต่อๆกัน 
    ส่วนภาษาวิบัติ คือการที่ใครก็ไม่รู้ผู้ที่ไม่รู้ความสำคัญของการวาดมาเขียนภาพต่อจากเรา
  • เมื่อก่อนไม่มีพจนานุกรม มันก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ที่จะเกิดภาษาวิบัติ หรือการวิวัฒนาการของภาษาขึ้น 
    แต่เมื่อมันมีแล้ว แล้วเราจะแกล้งโง่ทำให้มันเปลี่ยนไปทำไมล่ะ?
  • เพราะคนเรามีสมองมีจินตนาการสร้างสรรค์ได้ แล้วพจนานุกรมก็ไม่ใช่กฏ
  • แม้ พจนานุกรมไม่ใช่กฏ แต่มันเป็นหลักที่สมควรจะปฏิบัติ คล้ายกับระเบียบ ข้อแนะนำ หรือจรรยาบรรณ คุณไม่ต้องทำตามก็ได้ แต่มันจะดีกว่าถ้าคุณทำตาม
  • ความ คิดสร้างสรรค์ใช้กับความคิดที่ดี แต่ถ้าเป็นความคิดที่ไม่ดี ความคิดที่แย่ ความคิดที่เสื่อม หรือมาจากความขี้เกียจ มันไม่ได้เรียกว่าความคิดสร้างสรรค์หรอก มันเป็นความคิดหรือไอเดียที่ไม่สร้างสรรค์
  • บางครั้งภาษาวิบัติก็ทำให้คำนั้นๆ ดูจะรุนแรงน้อยลง เช่น อ้ายสาดดด -> ไอ้สัตว์
  • นักปราชญ์ผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า “ผู้ใดละทิ้งภาษา…ผู้นั้นย่อมละทิ้งวัฒนธรรม…ผู้ใดละทิ้งวัฒนธรรม…ผู้ นั้นย่อมละทิ้งทุกสิ่ง”

เหตุผล(และข้อแก้ตัว)ของพวกที่ใช้ภาษาวิบัติ

  1. เพราะ ว่าคำพวกนี้พิมพ์ได้ง่าย เข้าใจนะว่า คำภาษาไทยหลายๆคำอาจจะพิมพ์ยุ่งยากมากเรื่อง ดังเช่น คำว่า เดี๋ยว ก็เปลี่ยนเป็น เด๋ว และคำว่า ก็ ก็เปลี่ยนเป็น ก้อ เหตุผลเหรอ มันพิมพ์ง่ายไงล่ะ
    • แต่คุณอาจจะไม่รู้หรอกนะว่า คุณกำลังทำลายภาษาไทย โดยไม่รู้ตัว
  2. เคย มีวัยรุ่นคนหนึ่ง เคยให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาษาวิบัติว่า ที่หันมาใช้ก็เพราะมันดูแนวๆดี ทันสมัย ถูกใจวัยรุ่น ก็เลยถามว่ามันแนวตรงไหน คำตอบที่ได้มาคือ “ก็มันดูเหมือนว่าเด็กไทยมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดค้นคำใหม่ๆได้ขึ้นมาใช้ โดยไม่ต้องเขียนของเก่าให้มันเปลืองหมึก หรือ พิมพ์ให้มันเมื่อย”เพื่อ แสดงอารมณ์ ว่าตอนนี้กำลัง ผิดหวังหรือเบื่อหน่าย อย่างที่วัยรุ่นเค้าเรียกกันว่า”เซ็ง”น่ะแหล่ะ เพราะบางทีถ้าผิดหวังก็อาจจะลากเสียงคำว่า “ไม่” เป็น “ม่าย..ย…” ถ้าอารมณ์ดีก็อาจจะสั้นหน่อยเป็น “มั่ย”
    • ก็ ฟังแล้วคิดว่า มันก็สะดวกสบายแต่ว่า ความสะดวกสบายของคุณกำลัง เป็นความกลุ้มใจของ พ่อขุนรามคำแหง อยู่ เพราะว่า พ่อขุนรามคำแหง ท่านอุตส่าห์คิดค้นภาษาไทยขึ้นมา แต่รุ่นหลังมาทำลาย อย่างที่เค้ากล่าวน่ะแหล่ะว่า “ผู้ใหญ่สร้าง วัยรุ่นทำลาย”
  3. ” ก็มันขำๆดีนี่”
    • เหตุผล นี้ฉันก็ไม่รู้หรอกนะที่ว่า”ขำๆ”น่ะหมายความว่าอะไร แหม…พวกคุณนี่ ถ้าจะอารมณ์ดีเหลือเกิน คิดคำที่เป็นภาษาวิบัติมาใช้กันเนี่ย ป่านนี้พ่อขุนรามคำแหงคงนั่งขำไม่ออกแล้วล่ะ
  4. ” ไม่เห็นเป็นไรเลย มันก็อ่านเหมือนๆกันแหละ”
    • ฉัน อยากจะบอกพวกคุณว่ามันอ่านเหมือนกันก็จริงนะ แต่คอมพิวเตอร์มันต้องใช้ตาอ่านไม่ใช่หูฟังนะ ถ้าเกิดมีเด็กมาอ่านและนำไปใช้เนี่ย นำไปเขียนเนี่ย ถ้าเป็นยังงี้จริงๆนะ ภาษาไทยจะเพี้ยนไปหมดแน่ๆ เชื่อพี่เถอะ
  5. “ก็มันเผลอนี่นา”
    • หลายคนอาจพูดยังงี้ อยากถามว่า ถ้าคุณไม่คิดค้นมันมาและใช้มัน คุณจะเผลอได้เหรอ?
  6. “ก็คำมันดูน่ารักนี่คะ”
    • อยากรู้ว่ามันน่ารักตรงไหนคะเนี่ย? ตายๆๆ…ถ้าคนมองเป็นภาษาที่น่ารักหมดเนี่ย สงสัยว่าคงต้องร้องเพลง”ไปน่ารักไกลๆหน่อย”ซะแล้ว
  7. ” ก็เวลาเล่นMSNมันพิมพ์เร็วทันใจนี่คะ”
    • รู้ แล้วค่ะมันเร็วแต่ว่า…ถ้ามันไม่ ใช่ภาษาวิบัติมันก็ไม่เสียเวลาเป็นชั่วโมงหรอกค่ะ แค่เสียเวลาเล็กๆน้อยๆเพื่ออณุรักษ์แค่นี้ถึงกับทำไม่ได้เลยเหรอคะ?
  8. ” ก็มันเพิ่งหัดพิมพ์ยังพิมพ์ไม่คล่องนี่”
    • อันนี้ไม่ว่านะคะ แต่ถ้าคล่องแล้ว ควรจะพิมพ์คำให้ถูกนะ บางคนไม่คล่อง ก็ไม่คล่องตลอดกาล ใช้ไม่ได้
  9. พิมพ์ให้มันดูสั้นลงเพราะเปลืองเนื้อที่
    • อยากถามอีกว่าคุณซื้อเนื้อที่ในการพิมพ์หรือไงถึงต้องประหยัดเนื้อที่?
  10. ” ทันสมัยดีนี่…คนที่เขาใช้คำเป็นคงไม่วิปริตมาใช้หรอก บางทีพวกคนที่ใช้คำเป็นคงเล่นแชทไม่เป็นหรอก”
  11. ” ก็พอใจนี่/ก็จะพิมพ์ยังงี้พวกเธอมีสิทธิ์ห้ามเหรอ”
    • ค่ะ…ไม่มีสิทธิ์ห้ามใดๆ หรอกสิ่งพวกนี้มันอยู่ที่ตัวคุณค่ะ กิริยาส่อภาษา วาจาส่อนิสัย

 

 

มาลองอ่านออกเสียงภาษาวิบัติกัน

 

ภาษาวิบัติ สร้างสรรค์ หรือบ่อนทำลาย

      ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องภาษาวิบัติเป็นเรื่องที่เราพบเห็นกันได้บ่อยครั้ง
ในสื่อออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยบนอินเตอร์เน็ตผ่านทางโปแกรมสนทนาอาทิ IRC, MSN หรือผ่านทางกระดานข่าวต่างๆ ที่เราจะได้เห็นการแผลงคำบางคำ ให้เพี้ยนไปจากรูปเดิมที่ควรจะเป็น อาทิเช่น ใช้คำว่า “เทอ” แทนคำว่า “เธอ” หรือ “คับ” แทนคำว่า “ครับ” ซึ่งกำลังระบาดไปทั่วในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งนั้น มาจากการต้องการความสะดวกสบายในการพิมพ์คำบางคำที่ต้องกดปุ่ม  Shift เข้าช่วย เช่นคำว่า “ก็” หรือใช้คำวิบัติ เพราะคิดว่าทำให้ตนเองดูดี ดูน่ารักขึ้น เช่นคำว่า “ตะเอง” “ชิมิ” เป็นต้น

       จากกรณีดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการรณรงค์ เพื่อที่จะให้เลิกใช้ภาษาในลักษณะดังกล่าว
และหันกลับไปใช้รูปแบบที่ถูกต้อง โดยให้เหตุผลว่าเป็นความวิบัติทางภาษา ในขณะเดียวกัน ก็เกิดข้ออ้างที่ว่า
 เป็นเรื่องของการวิวัฒนาการของภาษาตามมา ซึ่งจากตรงจุดนี้ ทำให้เกิดคำถามตามมาคือ ภาษาวิบัติ เป็นการสร้างสรรค์ หรือบ่อนทำลาย

       ซึ่งข้าพเจ้าไม่ปฏิเสธ ในความจริงที่ว่าภาษาจำเป็นต้องมีพัฒนาการเพื่อความอยู่รอด
หาไม่แล้วก็จะเป็นภาษาที่ตายแล้ว แน่นอน ประเด็นนี้เป็นความจริงที่เราคงเลี่ยงไม่ได้ 
แต่หากเราจะมองลงไปให้ลึกๆ ถึงคำว่า “พัฒนาการของภาษา” แล้ว เราจะพบว่า ที่ภาษาไทยของเรา หรือแม้กระทั่งภาษาของชาติอื่นๆ มีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอนั้น ก็เพื่อที่จะดำรงไว้ อาทิเช่น การบัญญัติศัพท์ใหม่ๆขึ้นใช้ เพื่อให้รองรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป หรือการยืมคำจากชาติอื่นมาใช้เป็นคำทับศัพท์ แทนที่คำที่ไม่มีในภาษาเดิมของตน ซึ่งภาษาไทย ก็ได้มีการใช้คำทับศัพท์มากมาย

        จากประเด็นดังกล่าวข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า คำศัพท์ใหม่ๆนั้น สามารถมีได้ตามความสมควรแก่ “กาล”และ “เวลา” แต่สำหรับในกรณีนี้นั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า “วิวัฒนาการทางภาษา” หาได้รวมถึงการที่เรา ต้องทำให้ภาษาของเรา อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ต้องวิบัติลงแต่อย่างใด

         อีกปัญหาหนึ่งที่สืบเนื่องมาจากภาษาวิบัติที่ข้าพเจ้าพบเห็น คือการที่เยาวชนไทย มีการใช้ลำดับการผันอักษรที่ผิด ที่ข้าพเจ้าพบคือ มักจะมีการใช้การผันวรรณยุกต์ที่สูงกว่าเสียงจริงอยู่หนึ่งขั้นเสมอ เช่น “ใช่” รูปวรรณยุกต์เอก แต่มักเขียนเป็นรูปวรรณยุกต์โท คือ “ใช้”  หรือแม้กระทั่งเสียงที่ต่ำในตัวอยู่แล้ว ก็เติมรูปวรรณยุกต์เอกลงไป เช่น “อะ” เป็น “อ่ะ”ซึ่งในสายตาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามองว่าเป็นอีกหนึ่ง ความวิบัติอีกหนึ่งที่เกิดขึ้นในภาษาไทย

        ซึ่งปัญหาเหล่านี้นั้น ข้าพเจ้าคิดว่ามีผลกระทบอย่างมากต่อภาษาไทย ถึงแม้จะมีคนบางกลุ่มออกมาแย้งว่า เป็นเรื่องส่วนตัว หรือว่าพวกเขารู้ดี ว่าเวลาไหนควรจะใช้รูปแบบของภาษาวิบัติ หรือเวลาไหนควรที่จะใช้ภาษาที่เป็นทางการ(ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่า จะต้องมีคนออกมาแย้งกับความเห็นของข้าพเจ้าอย่างแน่นอน)แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่า การกระทำอะไรลงไปเพราะเคยชินต่อเนื่องกันนั้น สิ่งที่ทำลงไปจะบ่มเพาะลงไปในนิสัย

          หลายครั้ง ที่ข้าพเจ้าพบเห็นการเขียนคำผิด แม้ว่าคำๆนั้น จะเป็นคำที่ง่ายๆ
 ส่อให้เห็นถึงการละเลยในการที่จะใช้ภาษาอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเกิดจากความไม่รู้จริง หรือความสะดวกสบาย อันเป็นนิสัยของคนไทย
 แต่เพราะความสะดวกสบายเหล่านี้ ทำให้เอกลักษณ์ของภาษาไทย อันเป็นภาษาที่มีความสละสลวย และมีคุณค่าในตัวต้องเสื่อมคุณค่าลง

         แน่นอน ว่าปัญหาเหล่านี้อาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ  แต่ข้าพเจ้าก็ไม่อยากที่จะพบเห็นภาพของ “วัวหายล้อมคอก”
 เพราะติดคำว่า “สบาย” และคำว่า “ไม่สำคัญ” ของคนไทย ซึ่งเรื่องนี้ จะไปบังคับใครก็ไม่ได้ มันเป็นเรื่องของ “จิตสำนึก” ของแต่ละคน
 ว่าจะเห็นความสำคัญกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งอนาคตของภาษาไทย จะเป็นไปในทิศทางใด และรูปแบบใดนั้น เป็นเรื่องที่เราต้องคิด และเร่งแก้กันตั้งแต่ตอนนี้ อย่ารอให้สิ่งต่างๆ สายเกินที่จะแก้ไม่ทัน…

วิบัติของภาษา ต้องรีบหาทางแก้

 

นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากผลสำรวจต่างๆ และการศึกษาข้อมูลพบว่าสถานการณ์การใช้ภาษาไทยคนของไทย โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น ดารา สื่อมวลชน อยู่ในสภาวะวิกฤติและน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นนิยมใช้คำศัพท์แสลง คำผวน คำแปลกๆ ที่ไม่ถูกกาลเทศะ และคำหยาบคาย ที่สำคัญนำภาษาต่างประเทศมาผสมกับภาษาไทยกลายเป็นคำแปลกที่ไม่มีความหมาย และผิดหลักเกณฑ์ เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องนี้ หากปล่อยไว้ในอนาคตเด็กก็จะแยกไม่ออกว่าคำไหนเป็นคำไทยแท้ คำไหนเป็นคำที่วัยรุ่นบัญญัติขึ้นเอง  

          “การบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์จะไม่ใช้ภาษากำกวม หยาบคาย หรือสองแง่สองง่าม หลักการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์จะมีเฉพาะบางคำที่บัญญัติขึ้นใหม่ แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเรียกทับศัพท์ อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้ภาษา จึงจะเสนอให้ราชบัณฑิตควรออกประกาศ ทำความเข้าใจและเกี่ยวกับคำศัพท์คอมพิวเตอร์ ป้องกันประชาชนสับสน” ราชบัณฑิตกล่าว  
 ข่าวจาก http://www.norsorpor.com  

ประเด็นในการเชื่อมโยง
          ใกล้ถึงวันภาษาไทย ๒๙ กรกฎาคมนี้ หลายฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษาไทย ที่นับวันจะผิดเพี้ยนไปจากเดิม มีทั้งใช้ผิด ๆ บัญญัติศัพท์ใหม่ และใช้ปะปนกับภาษาต่างประเทศ เหล่านี้ทำให้ภาษาไทยวิบัติ ยิ่งในยุคเทคโนโลยีล้ำสมัยเช่นนี้ ส่งผลให้การขยายผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว หากมีต้นแบบผิด ๆ มานำเสนอ เช่น การพูดของดารา การใช้ภาษาในอินเตอร์เน็ต  เป็นต้น หากเราไม่อยากให้ภาษาไทยวิบัติไปมากกว่านี้ ควรหันมาช่วยกันจัดระเบียบภาษา โดยเฉพาะภาษาที่ใช้ในอินเตอร์เน็ต        

ประเด็นในการศึกษา
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต (วิชาภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๔)

 ปัญหาการใช้ภาษาไทย
            ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่มีการดัดแปลง และไม่ตรงกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ คำว่าภาษาวิบัติใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย และการใช้คำศัพท์ใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในพจนานุกรมหรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจาก คำเดิม

สาเหตุของการวิบัติ
ภาษาวิบัติ เป็นภาษาที่นิยมใช้ในหมู่วัยรุ่นปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นจากการส่งเอสเอมเอสหรือข้อความสั้นๆ การส่งอีเมล์ การสนทนาออนไลน์(เอมเอสเอน) หรือการแสดงความคิดเห็นในโลกอินเตอร์เน็ต จนเดี๋ยวนี้ภาษาวิบัติถูกใช้อย่างแพร่หลายจนแทบจะกลายเป็นภาษาทาง การของวัยรุ่นไปซะแล้ว โดยไม่ได้รู้เลยว่า ต้นกำเนิดของภาษาไทยวิบัติ ว่าที่จริงแล้วเริ่มต้นมาจากการต่อรองค่าตัวของ “โสเภณี”

ในสมัยที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตยังมีการซื้อขายบริการทางเพศอย่างเสรีในเว็บ ไซต์ จะมีการพูดคุยกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งเป็นที่รู้กัน ว่าส่วนมากผู้ที่ทำอาชีพนี้ มักจะมีการศึกษาต่ำและวิถีชีวิตที่แร้นแค้น ( คือหมดหนทางในการทำมาหากินแล้ว ) จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่พวกเธอจะสะกดคำบางคำได้ไม่ถูกต้อง เช่นคำว่า ก็ สะกดเป็นคำว่า ก้อ , คำว่า เป็น สะกด เป็น คำว่า เปน , คำว่า จริง สะกดเป็นคำว่า จิง เป็นต้น แต่ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด ภาษาไทยวิบัติที่ใช้ในหมู่ผู้ซื้อ-ขายบริการทางเพศจึงได้แพร่หลายในหมู่วัย รุ่น สังคมออนไลน์ และมีการนำไปใช้ในหนังสือหลายประเภทอย่าง ผิดๆ ทั้งที่หลายคนก็มีปัญญาความรู้และการศึกษาที่ดีพอที่จะแยกแยะได้ว่าอะไรคือ ผิดอะไรคือ ถูก

ประเภทของภาษาที่วิบัติ

๑. กลุ่มที่ใช้เวลาพูด
เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น ตัวเอง →  ตะเอง

๒. กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย
๒.๑ กลุ่มพ้องเสียง
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม

•   เธอ = เทอ
•   ใจ = จัย
•   ไง = งัย
•   กรรม = กำ

๒.๒ กลุ่มที่รีบร้อนในการพิมพ์
กลุ่มนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift อาจทำให้เสียเวลา เลยไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน เช่น
•   รู้ = รุ้
•    เห็น = เหน
•   เป็น = เปน

๒.๓ กลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกมส์ (ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไทย)
เทพ = Inw
นอน = uou
เกรียน = เกรีeu

ข้อควรคำนึงในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารทั่วๆ ไป ซึ่งมีหลักที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้

               ๑.ใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย   กล่าวคือ ก่อนนำคำไปเรียงเข้าประโยค ควรทราบความหมายของคำคำนั้นก่อน เช่น คำว่า “ปอก” กับ “ปลอก” สองคำนี้มีความหมายไม่เหมือนกัน คำว่า “ปอก” เป็นคำกริยา แปลว่า เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก แต่คำว่า “ปลอก” เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งที่ทำสำหรับสวมหรือรัดของต่างๆ เป็นต้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

                “วันนี้ได้พบกับท่านอธิการบดี ผมขอฉวยโอกาสอันงดงามนี้เลี้ยงต้อนรับท่านนะครับ”
(ที่จริงแล้วควรใช้ ถือโอกาส เพราะฉวยโอกาสใช้ในความหมายที่ไม่ดี)

                ๒.  ใช้คำให้เหมาะสม    เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและเหมาะสมกับบุคคล เช่นโอกาสที่เป็นทางการ โอกาสที่เป็นกันเอง หรือโอกาสที่เป็นภาษาเขียน เช่น

                “ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะคิดยังไง” (คำว่า “ยังไง”  เป็นภาษาพูด ถ้าเป็นภาษาเขียนควรใช้ “อย่างไร”

                ๓. การใช้คำลักษณนาม  ใช้คำที่บอกลักษณะของนามต่างๆ ให้ถูกต้อง เช่น ปากกา มีลักษณนามเป็น ด้าม เลื่อย มีลักษณะนามเป็น ปื้น ฤๅษี มีลักษณะนามเป็น ตน เป็นต้น

                ๔. การเรียงลำดับคำ  เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาไทย หากเรียงผิดที่ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ทั้งนี้ เพราะคำบางคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จัด เรียงไว้ในประโยค เช่น

                แม่เกลียดคนใช้ฉัน                             ฉันเกลียดคนใช้แม่

                คนใช้เกลียดแม่ฉัน                             แม่คนใช้เกลียดฉัน

                ฉันเกลียดแม่คนใช้                             แม่ฉันเกลียดคนใช้

ข้อบกพร่องในการเรียงลำดับคำมักปรากฏดังนี้

–  เรียงลำดับคำผิดตำแหน่ง เช่น เขาไม่ทราบสิ่งที่ดีงามนั้น ว่า คืออะไร (ควรเรียงว่า เขาไม่ทราบ ว่า สิ่งที่ดีงามนั้นคืออะไร)
–  เรียงลำดับคำขยายผิดที่ เช่น ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย เป็นอย่างสูง (ควรเรียงว่า ขอขอบคุณ เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย)
–  เรียงลำดับคำไม่เหมาะสม เช่น จงไปเลือกตั้งลงคะแนนเสียง นายกสโมสรนักศึกษา(ควรเรียงว่า จงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกสโมสรนักศึกษา)

                ๕.  แต่งประโยคให้จบกระแสความ   หมายถึงแต่งประโยคให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งส่วนที่เป็นภาคประธานและภาค แสดง ซึ่งประโยคที่จบกระแสความนั้นจะต้องตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ได้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ประโยคไม่จบกระแสความอาจเกิดจากขาดคำบางคำหรือขาดส่วนประกอบ ของประโยคบางส่วนไป เช่น
                เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้ว     (ควรแก้เป็น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้วก็ยังชอบอยู่เหมือนเดิม)

               ๖.  ใช้ภาษาให้ชัดเจน  ใช้ภาษาที่ให้ความหมายเพียงความหมายเดียว เป็นความหมายที่ไม่สามารถจะแปลความเป็นอย่างอื่นได้  เช่น “คุณแม่ไม่ชอบคนใช้ฉัน” อาจแปลได้ ๒ ความหมายคือ คุณแม่ไม่ชอบใครก็ตามที่ใช้ให้ฉันทำโน่นทำนี่ หรือคุณแม่ไม่ชอบคนรับใช้ของฉัน ทั้งนี้เพราะคำว่า “คนใช้” เป็นคำที่มีหลายความหมายนั่นเอง

                ๗. ใช้ภาษาให้สละสลวย  ใช้ภาษาอย่างไพเราะราบรื่น ฟังไม่ขัดหู และมีความกะทัดรัด
                –  ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย หมายถึง การใช้คำที่ไม่จำเป็น หรือใช้คำที่มีความหมายซ้ำซ้อน เช่น
                                “วันนี้อาจารย์ไม่มาทำการสอน”
                     คำว่า “ทำการ” เป็นคำที่ไม่จำเป็น เพราะแม้จะคงไว้ก็ไม่ได้ช่วยให้ความหมายชัดเจนขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าตัดทิ้ง ความหมายก็ไม่ได้เสียไป ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น   “วันนี้อาจารย์ไม่มาสอน”

                –  ใช้คำให้คงที่ หมายถึง ในประโยคเดียวกัน หรือในเนื้อความเดียวกัน ควรใช้คำเดียวกันให้ตลอด ดังประโยคต่อไปนี้
 “หมอถือว่าคนป่วยทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน” (ควรแก้เป็น : หมอถือว่าคนไข้ทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน”

                –  ไม่ใช้สำนวนต่างประเทศ  เช่น
  “มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องจากไป” (ควรแก้เป็น “เขาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจากไป)
  –  มีเทคนิคการรวบความโดยนำหลายประโยคมาเขียนรวมกันให้กระชับรัดกุม สามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้

                (๑)  กรณีที่ประโยคเหล่านั้นมีประธานหลายคำแต่มีกริยาหรือมีพฤติกรรมอย่างเดียวกัน เช่น

                      “วิไลเป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยา สมหญิงก็เป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยา และนพศักดิ์ก็เป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยาเช่นเดียวกัน”
จะเห็นว่า ๓ ประโยคนี้มีประธานไม่ซ้ำกัน แต่มีกริยาอย่างเดียวกัน คือต่างก็เป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยา  ฉะนั้นจึงเขียนรวบความเสียใหม่ว่า
    “วิไล สมหญิง และนพศักดิ์ ต่างก็เป็นนักเรียนโรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยาเหมือนกัน”

                (๒)  กรณีใจความมีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลกัน ให้เรียงใจความที่เป็นเหตุไว้ก่อน แล้วตามด้วยใจความที่เป็นผล หรือใจความที่เป็นการสรุปความ เช่น

                     “ใบหน้ายิ้มแย้ม ดวงตาแจ่มใส ตั้งใจในอันสนทนา วาจาไพเราะ เอื้อเฟื้อเหลือล้นคอยดูแลเสมอ เหล่านี้เป็นเครื่องหมายของผู้จงใจคบ” ดีกว่าจะเขียนว่า
“เหล่านี้เป็นเครื่องหมายของผู้จงใจคบ คือใบหน้ายิ้มแย้ม ดวงตาแจ่มใส ตั้งใจในอันสนทนา วาจาไพเราะ เอื้อเฟื้อเหลือล้น คอยดูแลเสมอ”

                การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น ย่อมทำให้การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ทุกประเภทมีประสิทธิภาพและได้ผลตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร

ภาษาวิบัติกับวัยรุ่น

        สังคม เราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตของคนไทย เรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชน ยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิ ใจของคนไทยเรา ภาษาไทยเป็นมรดกของคนไทยมายาวนาน แต่เยาวชนยุคบางส่วนใหม่กลับไม่รู้คุณค่า ของมันเลย
       การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง msn เช่นคำว่า ทามอะไรอยู่-ทำอะไรอยู่ เปนอะไร-เป็นอะไร เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว และดูเก๋ด้วย แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญขนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษให้มีการวิบัติมากขึ้น การใช้คำใช้ภาษาไปผิดๆ ทำให้เป็นการฝึกนิสัยในการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา และฉันกลาพูดได้เลยว่าวัยรุ่นไทยสมัยนี้เขียนคำ สะกดคำในภาษาไทย ได้ไม่ถูกตามตัวสะกด และเขียนภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา พูดไม่ถูกอักขระ ไม่มีคำควบกล้ำ บางคนพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนด้วยซ้ำไปและอยากจะยกตัวอย่างการใช้ภาษาไทยของวัย รุ่นจากความคิดเห็นของดร.นพดล กรรณิกา ว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง วันภาษาไทยแห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,277 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค. พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ไม่ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 14.7 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เมื่อสอบถามความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีสระกี่รูป ร้อยละ 81.2 ไม่ทราบความหมายของร้อยกรอง ร้อยละ 75.0 ไม่ทราบความหมายของร้อยแก้ว ร้อยละ 64.2 ไม่ทราบวรรณยุกต์ในภาษาไทยว่ามีกี่รูป และร้อยละ 11.7 ไม่ทราบว่าพยัญชนะไทยมีกี่ตัว  เมื่อถามถึงพยัญชนะภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัว “ฎ” รองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุ เป็น “ฏ” ร้อยละ 9.8 ระบุเป็น “ร” ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น “ฑ” ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น “ณ” และร้อยละ 4.5 เท่ากัน ระบุเป็น “ฐ” ตามลำดับ  นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 มีปัญหาเรื่องเขียนภาษาไทยผิด ร้อยละ 31.9 จับใจความผิด ร้อยละ 29.6 พูดผิด ร้อยละ 27.5 อ่านผิด ร้อยละ 18.6 ฟังผิด เป็นต้น
        ส่วน กลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุคือกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 46.0 ระบุเป็นกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นกลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 18.1 ระบุผู้ดำเนินรายการวิทยุ ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นนักการเมือง ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ ร้อยละ 15.8 ระบุเป็นผู้ประกาศข่าว และร้อยละ 8.9 ระบุเป็นครูอาจารย์ ตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.5 ระบุต้องเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.5 ระบุว่าไม่ต้องเร่งแก้ไข เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ต้องรักษาไว้ในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ระบุเป็นศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 68.5 ระบุภาษาไทย ร้อยละ 68.1 ระบุเป็นการช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน ร้อยละ 60.1 ระบุความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ร้อยละ 59.5 ระบุการเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 59.0 ระบุความสามัคคี ร้อยละ 56.9 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 54.1 ระบุการให้อภัย และร้อยละ 46.9 ระบุความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม ตามลำดับ

แต่ ถึงอย่างไรแล้วการรักษาภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไทยที่มีมาแต่ สมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยให้คนไทยได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่จะใช้ภาษาที่เก๋ไก๋แต่ทำให้ภาษาพ่อภาษาแม่ของเรา วิบัติไป จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยทุกคนช่วยกันรณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง และช่วยกันรักษาอนุรักษ์ภาษาที่เป็นสิ่งที่เราาใช้แสดงความเป็นไทย ความเป็นเอกราช ของประเทศไทยเราเอง ช่วยกันสืบต่อให้คนรุ่นหลังของเราได้ใช้ภาษาไทยต่อไป

คำที่คนไทยมักเขียนผิด และวิบัติที่นิยมใช้กัน

1. สำอาง
แปลว่า เครื่องแป้งหอม งามสะอาด ที่ทำให้สะอาด
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “สำอางค์” …ควายการันต์(ค์) มาจากไหน?

2. พากย์
แปลว่า คำพูด คำกล่าวเรื่องราว ภาษา
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “พากษ์” ที่เขียนกันผิดประจำนี่ คงติดภาพมาจากคำว่า วิพากษ์(วิจารณ์)

3. เท่
แปลว่า เอียงน้อยๆ โก้เก๋
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “เท่ห์” …ติดมาจากคำว่า “สนเท่ห์” รึไงนะ?

4.โล่
แปลว่า เครื่องปิดป้องศัตราวุธ ชื่อแพรเส้นไหมโปร่ง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “โล่ห์” สงสัยอยู่ในกรณีเดียวกับคำว่า “เท่”

5. ผูกพัน
แปลว่า ติดพัน เอาใจใส่ รักใคร่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “ผูกพันธ์” ไม่ใช่คำว่า “สัมพันธ์” นะเว้ย

6. ลายเซ็น
แปลว่า ลายมือชื่อ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “ลายเซ็นต์” ติดมาจาก “เปอร์เซ็นต์” รึเปล่า?

7. อีเมล
แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มักเขียนผิดเป็นคำว่า ”อีเมล์” คำนี้ผมก็เขียนผิดบ่อยๆ -*- มันติดอ่ะ

8. แก๊ง
แปลว่า กลุ่มคนที่ตั้งเป็นพวก(ในทางไม่ดี)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “แก๊งค์” หรือไม่ก็ “แกงค์”
เอ่อ…มันมาจากภาษาอังกฤษคำว่า gang นะ ควายการันต์มาจากไหน?

9. อนุญาต
แปลว่า ยินยอม ยอมให้ ตกลง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “อนุญาต” ผิดกันเยอะจริงๆ สับสนกับคำว่า “ญาติ” รึไง?รู้สึกเหมือนเราเคยอธิบายเกี่ยวกับคำนี้มาก่อนน ะในกระทู้นี้

10. สังเกต
แปลว่า กำหนดไว้ หมายไว้ ดูอย่างถ้วนถี่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “สังเกตุ” นี่ก็ผิดเยอะพอๆกับคำว่า “อนุญาต”
คงติดมาจากคำว่า “สาเหตุ” ล่ะมั้ง?

11. ออฟฟิศ
แปลว่าสำนักงาน ที่ทำการ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “ออฟฟิส” ไม่ก็ “ออฟฟิต” คำนี้มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “office” แต่พอมาเป็นภาษาไทยอุตส่าห์ใช้ตัวอักษร “ศ” ให้เท่ๆแล้วเชียว
แต่ทำไมกลับสู่สามัญเป็น “ส” ล่ะ หรือไม่ก็เอาคำว่า “ฟิตเนส” มาปนมั่วไปหมด

12. อุตส่าห์
แปลว่า บากบั่น ขยัน อดทน
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “อุดส่า” คำนี้พบไม่บ่อยมากนัก
แต่บางคนสะกดด้วย ต เต่า ถูกแล้วแต่ลืมใส่ บการันต์(ห์)

13. โคตร
แปลว่า วงศ์สกุล เผ่าพันธุ์ ต้นตระกูล
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “โครต” คำยอดฮิตของวัยรุ่น ไม่รู้เพราะสับสนกับคำว่า “เปรต” หรือเพราะในเกมออนไลน์บางเกมมันเซ็นเซอร์คำนี้ก็ไม่ร ู้ เลยดัดแปลงคำซะเลยจะได้พิมพ์ได้ แล้วก็ติดตามาเป็น “โครต” ในปัจจุบัน

14. ค่ะ

แปลว่า คำรับที่ผู้หญิงใช้
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “คะ” คำนี้ไม่ได้เขียนผิดอะไรหรอก แต่ใช้เสียงสูงเสียงต่ำผิด ถ้าจะพูดให้เสียงยาวก็เป็น “คะ” ใช้ต่อท้ายประโยคคำถาม แต่บางทีก็ใช้ “ค่ะ” ยัดลงไปเลย

15. เว็บไซต์
แปลว่า (ไม่รู้อ่ะ แต่มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “web” แปลว่า ใยแมงมุม ตาข่าย และ “site” แปลว่า กำหนดสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “เวปไซด์” คำว่า “เวป” อาจติดมาจาก “WAP” ซึ่งแปลว่าอะไรผมก็ไม่รู้ -*-
แต่คำว่า “ไซด์” ที่เขียนผิดอาจมาจากคำว่า “side” ที่แปลว่า ด้านข้าง เห็นด้วย (เกี่ยวอะไรกัน?)

16.โอกาส
แปลว่า ช่อง จังหวะ เวลาที่เหมาะ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “โอกาศ” สงสัยติดมาจากคำว่า “อากาศ”

17.เกม
แปลว่า การแข่งขันการละเล่นเพื่อนความสนุก ลักษณะนามเรียกการแข่งขันจบลงคราวหนึ่งๆ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “เกมส์”อันนี้เราไม่แน่ใจนะ แต่ถ้าจะให้มีความหมาย
ในภาษาไทยต้องใช้ “เกม” เพราะมันมาจากคำว่า “game” ในภาษาอังกฤษ

18.ไหม
แปลว่า ชื่อแมลงชนิดหนึ่งมีใยใช้ทอผ้า เป็นคำถาม
มักเขียนผิดเป็นคำว่า “มั้ย” ที่เปลี่ยนไปอาจเป็นเพราะเพื่อให้เสียงสูงขึ้น
เพราะถ้าใช้คำว่า ไม้ มันจะกลายเป็นอีกคำถ้าใช้ ไม๊ นี่อ่านไม่ออกเลย -*-

คำวิบัติที่นิยมใช้กัน
เรื่องของภาษาวิบัตินั้นถูกนำมาถกเถียงในหมู่นักภาษา ศาสตร์มากมาย
ทั้งการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้กันโดยไม่ผ่านราชบัณฑิต ยสถาน
รวมถึงการให้กำเนิดภาษาสื่อสารแนวใหม่ที่เรียกกันว่า “Emotical”
ภาษาวิบัตินั้น จะเรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการของภาษาจริงหรือ?
นับเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในการสำรวจโดยรวมแล้วนั้น
ภาษาวิบัติที่ผิดเพี้ยนจากหลักภาษาไทยที่ถูกต้อง ถูกนำมาใช้ในวงกว้างขึ้น
และเฉลี่ยอายุของผู้ใช้ภาษาวิบัติก็มีแนวโน้มสูงขึ้น เรื่อยๆ
พูดง่ายๆก็คือ คนที่มีดีกรีปริญญาตรี หรือเรียนในระดับอุดมศึกษานั้น
ใช้ภาษาไทยคำง่ายๆแบบผิดๆกันมากขึ้น ไม่ได้จำกัด อยู่ในวงของเด็กอีกต่อไป
จากการสำรวจขององค์กรนาซ่าและกูเก้ง ทางเราได้พบว่าคำที่ใช้ผิดอยู่บ่อยๆ

อาทิเช่น
“อารัย” = อะไร ไม่ใช่ อาลัย
“ที่นั้น” = ที่นั่น เป็นการผันวรรณยุกต์ที่ผิด
“นะค่ะ” = นะคะ ผันวรรณยุกต์ผิดเช่นกัน
“คับผม” = ครับผม อาจเกิดจากการรีบพิมพ์ ขอให้ออกเสียงได้เป็นพอ
“หรอ” = เหรอ ไม่ใช่ หรอจาก “ร่อยหรอ”
“แร้ว” = แล้ว ไม่ใช่ “แร้ว” ที่แปลว่ากับดักนก
“งัย” = ไง
“ครัย” = ใคร
“เกมส์” = เกม ไม่ต้องเติม ส์
“เดล” = เป็นคำภาษาอังกฤษจากคำว่า “Deal” อ่านว่า “ดีล”
“สาด” = สัตว์ เป็นศัพท์วัยรุ่น ลากเสียงให้ยาวขึ้นเพื่อเลี่ยงระบบกรองคำหยาบ
“กวย” = เช่นเดียวกับคำด้านบน เปลี่ยนพยัญชนะเพื่อเลี่ยงระบบ
“ไฟใหม้” = ไฟไหม้
“หวัดดี” = สวัสดี ไม่ใช่ การเป็นหวัดเป็นเรื่องที่ดี
“สำคัน” = สำคัญ บางทีอาจจำสลับกับ “สังคัง” ที่เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง
“หน้ารัก” = น่ารัก ไม่ใช่ รักเพราะหน้า
“ฆ้อน” = ค้อน ผู้ใช้อาจสับสนกับ “ฆ้อง” ที่เป็นเครื่องดนตรี
“สัสดี” = ทหารยศหนึ่ง เข้าใจว่าพิมพ์ผิดจากคำว่า “สวัสดี”
“555” = เสียงหัวเราะ มาจาก”ฮ่าๆๆ” ดัดแปลงมาเป็น”ห้าห้าห้า”

เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำไม่ถูกต้องตามห ลักภาษาไทย ซึ่งสาบานได้ ให้ตายเถอะ…
ผมเคยเห็นคนเขียนคำเหล่านี้ลงในวิทยานิพนธ์ปริญญาโท และเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า
คำเหล่านี้ได้ถูกนนำมาใช้ในแวดวงวรรณกรรม นับเป็นฝันร้ายของวงการน้ำหมึกอย่างแท้จริง

Emotical คือพัฒนาการจริงหรือ?
เป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างจริงจังในวงวรรณกร รมไทย กับภาษาสื่อสารยุคใหม่ที่เรียกกันว่า “Emotical”
ต้นกำเนิดของมัน มาจากสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงอารมณ์แทนผู้พูด สามารถหาได้ตามเวปบอร์ด แชทรูม และเอมเอสเอน

ตัวอย่างเช่น
: ) = ยิ้ม
XD = ยิ้มดีใจสุดๆ
; ) = ยิ้มขยิบตา
-_- = ทำหน้าตาเบื่อโลก
-_-; = ทำหน้าตาเบื่อโลกและเหงื่อตก
-_-; ,,|,, = ทำหน้าตาเบื่อโลก เหงื่อตกและชูนิ้วกลาง
OTL = ลงไปนั่งคุกเข่าอย่างท้อแท้

orz = เหมือนข้างบน แต่ตัวจะเล็กกว่า
/gg = giggle หรือหัวเราะขำขัน
olo = อวัยวะเพศชาย
[๐ ๐] = C = เมก้าซาวะ

เหล่านั้นคือตัวอย่างของภาษา Emotical ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของวัยรุ่น เราสามารถพบเห็นมันได้ในฟอร์เวิร์ด
เกมออนไลน์ แมสเสจมือถือ หรือแม้กระทั่งวรรณกรรมที่ขายตามร้านหนังสือ ปัจจุบันนั้นยังคงมีการถกเถียง
และยอมรับภาษา Emotical กันอยู่ ว่าสมควรแล้วหรือยังที่จะนำมาใช้ในวรรณกรรมให้คนทั่ว ไปอ่าน
ถ้าหากมองในแง่ของวัฒนธรรมแล้ว Emotical ก็นับเป็นมิติใหม่ของภาษาที่ถูกใช้ไปทั่วโลก
หากจะว่ากันตามจริงแล้วมันถือเป็นวัฒนธรรมของโลกยุคใ หม่เลยทีเดียว

แต่หากมองในแง่ของความผิดเพี้ยนแล้วนั้น ก็ย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่สั่นคลอนรากฐานภาษาดั้งเดิมข องประเทศ
ภาษา เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเอกราชของประเทศน ั้นๆ หากการรับเอาภาษาอื่นมาใช้งานนั้น
ทำให้คนขาดจิตสำนึกในภาษาแม่แล้ว มันอาจจะกลายเป็นความหายนะของภาษาในเร็ววัน

ดั่งหลักการ “เปลี่ยนแปลงแต่ไม่เปลี่ยนไป” การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแย่ แต่การเปลี่ยนไป
เป็นเรื่องที่น่ากลัว ภาษาไทย ไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว หากแต่เป็นภาษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สวยงามได้ เสมอ
หากการรับนำข้อดีของ Emotical มาใช้ให้ถูกที่ถูกกาลเป็นเรื่องที่สมควร
การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาก็ย่อมเป็นเรื่องที่ ต้องกระทำตั้งแต่ตอน นี้

สุดท้ายนี้
การเขียนภาษาไทยผิดๆ ถือเป็นคนละประเด็นกับการ(ตั้งใจ?)ใช้ภาษาไทยแบบวิบัติๆ นะค่ะ
เพราะการเขียนคำผิดนี่เกิดจากความเข้าใจผิด หรือรับรู้มาผิดๆ เท่านั้นเอง แก้ไขได้ไม่ยาก

โดยวิธีแก้ก็แค่หัดเขียนบ่อยๆ ให้มันถูก เดี๋ยวก็หายค่ะ

ขำ-ขำ กับศัพท์เด็กแนว (แนวไหน)

1.โอ้ว! จอร์จ มันยอดมาก
แปลว่า เจ๋งมาก เจ๋งโคตรๆ

2.จิ๊บ
แปลว่า เป็นอาการดีอกดีใจกระดี้กระด้าเมื่อเจอหนุ่มหล่อวัยใสเอ๊าะๆ

3.มาแว้ว
แปลว่า มาแล้วจ้า

4.วันนี้โปร่ง
แปลว่า วันนี้ไม่หนีบแฟนมาด้วย

5.พกข้าวห่อ
แปลว่า ไปต่างจังหวัดหรือไปเที่ยวไกลๆ แล้วเอาแฟนไปด้วย

6.เฟิร์มนะ
แปลว่า ตกลงแน่นอนตามนั้นใช่ไหม

7.กิ๊ก
แปลว่า มากกว่าเพื่อนแต่ไม่ใช่คนรัก

8.ซะงั้น
แปลว่า ทำได้ไง ทำแบบนั้นเฉยเลย

9.วิ่นวือ
แปลว่า วุ่นวายสุดๆ

10.ห่าน
แปลว่า สวยมาก

11.นอย
แปลว่า หวาดระแวง กังวล (มาจากพารานอย)

12.ไอ้สุย
แปลว่า หนุ่มที่แต่งตัวเห่ยมากไม่เข้ากับเวลาและสถานที่

13.จีว่า
แปลว่า แต่งตัวเว่อร์ หรือแสดงแอ็กชั่นเว่อร์มาก

14.เกิร์ป
แปลว่า โง่เหมือนกระบือ

15.จูบู้
แปลว่า สาวที่แต่งตัวเซ็กซี่สุดยอด

16.เด้ง
แปลว่า ใสมาก ขาวมากเด่นมาก

17.ชิว-ชิว
แปลว่า เล็กๆ จิ๊บๆ

18.เยก
แปลว่า ขี้เหร่ อุบาทว์ น่าเกลียด

19.ตู้
แปลว่า เด็กเรียน

20.โอ
แปลว่า โอเค ตกลง

21.ปู๊
แปลว่า แฟน

22.สิว-สิว
แปลว่า เรื่องขี้ผง เรื่องเล็กๆ ง่ายมาก

23.ป๊อก
แปลว่า งีบหลับ

24.ขี้เม้ง
แปลว่า ชอบวีน ชอบโวยวาย

25.เนียน
แปลว่า ทำได้กลมกลืน ทำแนบเนียนดีมาก

26.วีนแตก
แปลว่า ชอบอาละวาด ชอบโวยวาย

27.อิม
แปลว่า เป็นไปไม่ได้ (มาจากimpossible)

28.ซึม
แปลว่า พวกชอบทำไม่รู้ไม่ชี้ แต่ที่แท้ตัวดีเลยแหละ

29.ป๊อด
แปลว่า ปอดแหก

30.เซี๊ยะ
แปลว่า ยุแหย่

31.มีเชิง
แปลว่า ฟอร์มดีหรือเก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

32.กล้านะ
แปลว่า ช่างทำได้นะ ไม่อายเลย (กล้าพูดหรือกล้าแต่งตัว)

33.เนิบ
แปลว่า เรื่อยๆ สบายๆ

34.เซอร์
แปลว่า ติ้สท์ๆดิบๆเถื่อนๆปอนๆ แต่เท่ห์

35.โปร
แปลว่า คนที่เราหวังอยู่ คนที่แอบปิ๊ง

36.เอาต์
แปลว่า ตกยุคแล้ว

37.วัยรุ่นเซ็ง
แปลว่า ไม่ถูกใจเลยน่ะสิ

38.ปาดหน้าเค้ก
แปลว่า หยามกันซึ่งๆหน้า

39.ซับแหมน
แปลว่า เป็นไงพวก (มาจาก What’s up man?)

40.กิ๊บ
แปลว่า เจ๋งโคตร

41.เบๆ
แปลว่า ง่ายๆ หมูๆ

ภาษาวิบัติภาษาวัยรุ่น

“ดีคร๊า…..บายดีมั้ย…….ทำรัยอยุ่…….หม่ำรัยรึยางง”

              นี้ตัวอย่างบทสนทนาการใช้ภาษาที่ผิดของวัยรุ่น ในปัจจุบันวัยรุ่นใช้ภาษาแสลงหรือคำคะนองกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสะดวก สะกดง่าย เข้าใจง่าย สื่อสารกันง่ายในกลุ่มเพื่อนและคนสังคมเดียวกัน

              คำแสลงหรือคำคะนอง เป็นคำศัพท์หรือสำนวนที่ไม่เป็นทางการ โดยทั่วไปอาจจะเกิดจากการสร้างคำขึ้นมาใหม่โดยการ เปลื่ยนคำ เปลี่ยนความหมาย และความขบขันหรือน้ำเสียงในการพูด ศัพท์หรือสำนวนเหล่านี้อาจจะใช้เฉพาะคนในวงการใดวงการหนึ่ง หรืออาชีพใดอาชีพหนึ่ง ศัพท์สแลงบางครั้งอาจใช้เพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ แล้วก็หายไป แต่บางครั้งอาจยาวจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาพูดเลยก็ได

              ขณะที่คำแสลงยุคใหม่ๆ มีข้อน่าสังเกตว่า หลายคำมาจากอิทธิพลของภาษาญี่ปุ่น และเกาหลี มาประยุกต์ และหลายคำมาจากภาษาทาง MSN โดยเป็นคำเฉพาะของผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ซึ่งมักจะหาคำใหม่ๆ มาสะท้อนถึงอารมณ์ ความรู้สึก โดยผ่านการพิมพ์เป็นข้อความ และมักดัดแปลงเป็นคำสั้นๆ มาสนทนากัน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการสื่อสาร ซึ่งมีรูปคำที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม เน้นคำโดดๆ สั้นๆ บางคำไม่มีความหมายแต่เป็นคำที่เข้าใจกันเฉพาะกลุ่ม

              แดดในยามบ่ายทอแสงกระทบกับตึกสูงใจกลางมหาวิทยาลัย ที่ซึ่งฉันได้นัดพบใครบางคนไว้ นั้นคือคุณสรินยา แซ่ลิ้ม ประธานคณะกรรมการคณะนิเทศศาสตร์ ผู้ที่มีความสนใจการใช้ภาษาเพื่อติดต่อสื่อสาร เชื่อว่าภาษาแสลงเป็นความมักง่ายของวัยรุ่น ซึ่งเป็นการทำลายภาษาไทยดั่งเดิม เนื่องจากภาษาไทยเป็นมรดกทางปัญญา และเอกลักษณ์ของชาติ

             โดยกล่าวว่า “ ไม่เห็นด้วยกับการใช้ภาษาแสลงของวัยรุ่นในปัจจุบัน เพราะเมื่อวัยรุ่นหันมาใช้คำแสลงมากขึ้น จนเกิดเป็นความเคยชิน เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่นำไปใช้เขียนแบบผิดๆ อาจจะทำให้ผู้ที่อ่านจำแบบผิดๆ และใช้ตามกันแบบผิดๆ” ในฐานะคนไทยจึงจำเป็นต้องช่วยกันรักษาภาษาไทยอันสวยงามเอาไว้

              และยังในความเห็นต่ออีกด้วยว่า “การอนุรักษณ์ภาษาไทยนั้นต้องปลูกจิตสำนึกให้เยาวชน โดยเริ่มจากตนเองก่อน ด้วยการพูด เขียน อ่านภาษาไทย อย่างถูกต้องชัดเจน ออกเสียง ร ล ว ชัดเจนและไม่เปลื่ยนแปลงความหมายของภาษา”  สีหน้า แววตา ท่าทางของคนที่เธอดูมุ่งมั่น จริงจังในการตอบคำถามเป็นอย่างมาก เหมือนต้องการจะบอกให้ทราบว่าปัญหาเรื่องภาษาแสลงของวัยรุ่นนั้นค่อนข้างจะแก้ไขได้ยาก และเป็นปัญหาของสังคมไทยไปแล้ว

             ในขณะที่กลุ่มคนอีกส่วนหนึ่งก็คิดว่าภาษาแสลงเป็นเพียงการสื่อสารกันในกลุ่มคน ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อภาษาไทยที่ถูกต้องแต่อย่างใด “เพราะภาษาแสลง เป็นเหมือนคำที่คิดขึ้นมาตามยุคสมัย เมื่อหมดยุคสมัยหนึ่ง คำใหม่ก็จะเกิดขึ้นมา และคำเก่าก็จะหายไป”

คุณกรวรรณ ประสิทธิ์เพียงชัยกล่าว

              เช่นเดียวกันกับครูลิลลี่ที่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาษาแสลง หรือคำคะนองไว้ในหนังสือเรียนภาษาไทยง่ายๆ สไตส์ครูลิลลี่ว่า “ครูลิลลี่มีความเห็นเป็นกลาง ๆ ว่า คำคะนองของน้องๆ วันรุ่นทั้งหลายเนี่ยนะ เกิดจากธรรมชาติของเด็กวัยรุ่นที่มีความคะนอง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต้องการฉีกแนวแปลกใหม่ ต้องการมีสีสันไม่ให้น่าเบื่อ ต้องการให้เกิดอารมณ์สนุกสะใจแม้จะผิดไวยากรณ์ ผู้ใหญ่บางท่านที่เคร่งครัดก็จะไม่ชอบตรงจุดนี้เพราะท่านมองว่าอาจจะเป็นภาษาวิบัติได้ แต่ท่านเหล่านั้นก็มีสิทธิ์ที่จะห่วงภาษาของชาติ”

             และยังให้ความเห็นต่ออีกว่า “สำหรับคนที่เข้าใจธรรมชาติของภาษา ก็ควรจะมองว่าภาษามีชีวิต มีการเปลื่ยนแปลง คำคะนองก็มีอายุของมัน ถ้าคนเบื่อ คำนั้นก็จะหายไปเอง”

             ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ราชบัณฑิตยสถาน ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน แถลงข่าวจัดทำ พจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำที่ไม่ได้บรรจุไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ซึ่งมีทั้งคำใหม่ คำสแลง หรือสำนวน ที่ใช้จนติดปาก ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งคำที่เคยบรรจุไว้ในพจนานุกร ฉบับมาตรฐานแล้ว แต่ปัจจุบันใช้ในความหมายที่แตกต่างออกไป จะนำมาบรรจุไว้ในพจนานุกรมคำใหม่ พร้อมให้ความหมายใหม่

              สาเหตุที่จัดทำพจนานุกรมคำใหม่ขึ้นมา เพราะภาษาไทยมีคำใหม่ วลีใหม่ เกิดขึ้นทุกวัน คำที่ใช้อยู่เป็นปกติอาจเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ ขยายความหมาย หรือใช้ในความหมายที่ผิดแผกแตกต่างจากเดิม

พจนานุกรมคำใหม่แบ่ง 3 หมวดใหญ่ๆ คือ

1. คำที่มีอยู่แล้วในพจนานุกรมฉบับมาตรฐาน แต่ปัจจุบันเกิดความหมายใหม่เพิ่มขึ้น

2.  คำหรือวลีที่เกิดขึ้นใหม่ โดยเฉพาะศัพท์วัยรุ่น หรือศัพท์ตามกระแสใหม่

3. คำใหม่ที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง หรือเทคโนโลยีใหม่

             ศ.ดร.กาญจนา กล่าวด้วยว่า ส่วนที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการจัดทำพจนานุกรมคำใหม่ว่า คำสแลง คำที่มีความหมายโดยนัย ไม่ควรจัดทำเป็นพจนานุกรม เพราะไม่ใช่ภาษามาตรฐาน ใช้อย่างเป็นทางการนั้น เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะพจนานุกรมคือหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงตามตัวอักษร เพื่อให้สะดวกแก่การค้นคว้า หาความหมาย วิธีการใช้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ยังมีคำสแลงอยู่ประมาณ 400 คำ หากไม่รวบรวมคำที่ใช้กันติดปากในปัจจุบันไว้ ผ่านไป 30-40 ปี คำเหล่านี้อาจหายไปจากการใช้ คนรุ่นหลังจะอ่านเอกสารที่มีคำภาษาปากปะปนอยู่ไม่เข้าใจ เพราะไม่รู้ความหมายของคำ และไม่มีพจนานุกรมให้ค้นคว้าหาความหมาย จึงต้องบันทึกคำและความหมายของคำทุกประเภทในแต่ละยุคไว้อย่างไรก็ตามใช่ว่าการที่มีพจนานุกรมมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งได้รวบรวมคำแสลงไว้อย่างมากมาย จะถือว่าการใช้คำแสลงนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องและไม่ทำให้ภาษาไทยวิบัติไป ได้ แต่สร้างพจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ขึ้นมาเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเด็กเยาวชนและคนรุ่นหลัง ให้ทราบถึงความหมาย และกาลเทศะในการใช้คำแสลง เพราะถ้าใช้คำแสลงได้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกคน และถูกกาละเทศะแล้วก็จะไปเป็นปัญหาต่อการใช้ภาษาให้ถูกต้องและไม่สามารถจะทำ ให้ภาษาไทยอันเป็นมรดกทางปัญญาและเอกลักษณ์ของชาติไทยนั้นวิบัติไปได้

เขียนโดย – อังคณา เอกกุล

ขอบคุณภาพจาก – http://www.napiratravel.com

ภาษาไทยกับวัยรุ่นปัจจุบัน

                พูดไทยไม่ค่อยชัด…แต่ภาษาอังกฤษ…ไม่ได้เลย” เป็นมุขตลกที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ประโยคดังกล่าวไม่ได้เป็นแค่มุขตลกขำ ๆ อีกแล้ว เพราะปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ “พูดภาษาไทยก็ไม่ค่อยชัดอยู่แล้ว แต่ภาษาอังกฤษก็ไม่ดีเช่นกัน” หรืออาจกล่าวได้ว่ากำลังมีอาการของโรคสมมุติที่เรียกว่า “โรคภูมิคุ้มกันภาษาไทยบกพร่อง” โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ซึ่งอาการที่พบมากที่สุดก็คือ โรค ร ล ลักปิดลักเปิด ซึ่งมักออกเสียง ร ไม่ได้ หรือออกเสียงเป็นเสียง R ในภาษาอังกฤษ  โรค ส ซ อักเสบ โดยมักมีเสียงพ่นหน้าคำมากเกินไปจนคล้ายกับเสียง S ของภาษาอังกฤษและโรควรรณยุกต์เคลื่อนเรื้อรัง ซึ่งเป็นการออกเสียงวรรณยุกต์เคลื่อนที่ไปจากระดับเสียงหนึ่ง เช่น แม่ เป็น แม้ ผีเสื้อ เป็น ผี่เสื้อ เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพูดและเขียนภาษาไทยของวัยรุ่นก็คือ สื่อมวลชนนั่นเอง โดยเฉพาะ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ต กล่าวคือ เด็กวัยรุ่นมักจะเลียนแบบการออกเสียงการพูดของดารา ศิลปินนักร้อง รวมทั้งพิธีกรรายการ ตลอดจนดีเจที่ตนเองชื่นชอบ เพราะคิดว่าเป็นความเท่ห์ มีเสน่ห์ โดยมักพูดไทยสำเนียงฝรั่ง ใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียน หรือพูดไทยคำ อังกฤษคำ เป็นต้น ส่วนด้านการเขียนนั้น พบว่า เด็กไทยเขียนภาษาไทยกันไม่ค่อยถูกต้อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเคยชินกับภาษาเขียนที่ใช้ในการเขียนกลอนวัยรุ่น การส่งข้อความผ่านมือถือ และการเขียนในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะจากการแช็ต ที่จะเน้นเขียนคำให้สั้นที่สุด เช่น “555” แทนเสียงหัวเราะ “เดว” แทนคำว่า “เดี๋ยว” “ไปเดก่า” แทนคำว่า “ไปดีกว่า” คำว่า “ไม่เป็นไร” ก็เขียนเป็น “ม่ายเปนราย” งุงิ คริคริ แทนความรู้สึกบางอย่าง สาด-กรู เป็นต้น 

                การเปลี่ยนแปลงทางภาษาของวัยรุ่นไทยดังกล่าวนั้น ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งผิด แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากกว่า ศัพท์แสลงหรือคำเฉพาะกลุ่มต่าง ๆ นั้น หากนำไปใช้เพื่อสื่อสารกันเองภายในกลุ่มเล็ก ๆ ก็คงไม่เสียหายเท่าใดนัก แต่หากอยู่ในที่สาธารณะหรือใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการ การพูดคุยกับผู้ใหญ่ หรือในการเรียนนั้น ก็ควรจะต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งในการพูด อ่านและเขียน อย่างไรก็ตาม การจะให้เด็กใช้ภาษาไทยอย่างสุภาพและถูกต้องนั้น ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ และบุคคลสาธารณะต่าง ๆ ควรจะสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กด้วย มิเช่นนั้นจะโทษว่าเด็กยุคใหม่ทำให้ “ภาษาไทยวิบัติ” ก็คงจะไม่ได้

               ภาษาไทยเป็นรูปแบบการสื่อสารที่สำคัญของคนไทย การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถสื่อสารบอกความต้องการ ความรู้สึกของเราได้ และภาษาไทยถือเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงได้ประดิษฐ์อักษรไทยให้คนไทยได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

                ในปัจจุบันโลกของเราได้มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งการสื่อสาร วัยรุ่นในประเทศไทยยุคใหม่บางกลุ่มได้สร้างค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้ คือ การใช้ภาษาไทยที่ผิดจากคำเดิม จึงทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนแปลงไป เยาวชนยุคหลังๆ จึงใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง

                วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการสื่อสารกันมากและมีรูปแบบการสื่อสารด้วยคำที่ทันสมัย มีความหมายเฉพาะสำหรับกลุ่มและช่วงวัย วัยรุ่นจึงขาดความคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและกาลเทศะ เช่น การพูดกับผู้ใหญ่ พูดในที่สาธารณะที่มิใช่เฉพาะกลุ่มของตน หรือการพูดติดต่อที่เป็นทางการ ควรใช้ถ้อยคำที่ไพเราะและใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้มีพัฒนาการทางภาษาที่ดีในอนาคต

                การใช้ภาษาไทยที่ผิดๆ ของวัยรุ่นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลง ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คำว่า “ทามอะไรอยู่ (ทำอะไรอยู่) เปนอะไร (เป็นอะไร)” เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทยหนึ่งคำสามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือนๆ กัน มีสระที่เสียงคล้ายๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไปจากเดิม ทำให้ความเปลี่ยนแปลงทางภาษาไทยที่มีความซับซ้อนและทำให้วัยรุ่นนิยมใช้ภาษาไทยที่มีความหมายละเอียดและกว้างจากความหมายเดิมมีมากขึ้น

                ภาษาไทยจึงถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศไทย ถึงแม้จะเป็นไปตามกระแสทางวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต แต่การช่วยกันอนุรักษ์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องจะช่วยให้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติกลับมาคงความสวยงามและมีความหมายอย่างถูกต้องเหมือนในอดีต และขอทิ้งท้ายคำขวัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภาษาไทยไว้ดังนี้

“คนไทยยุคใหม่  ไม่ใช้ภาษาวิบัติ”